Press Release
Appeals Court Upholds the First Court’s 12 Year Prison Sentence against Traffickers and 1,256,240 THB Compensation for Trafficked Minor
The Appeals Court, Human Trafficking Division, read the verdict on Black (Pending Case) No. Kor Mor 1/2562 and Red (Decided Case) No. 1691/2562, on May 7th, 2019, at 9.00 A.M. The litigation was lodged by Tak’s public prosecutor against Mrs. Zarabi Abdullah, the first defendant, and Mr. Charlie (last name unknown), the second defendant. Both defendants were convicted in violation of the 2008 Anti-human Trafficking Act and the 2003 Child Protection Act. The Appellate Court heard that the defendants and other absconding offenders had received Min (pseudonym), a Burmese boy, from brokers in 2013. The defendants had confined, beaten, and forcibly coerced Min into selling roses to tourists in Khaosan Road between 6 P.M. to 3 A.M. The defendants had committed offences in violation of the 2008 Anti-human Trafficking Act Article 6 (1) (2), 10 paragraph one, and 52; the 2003 Child Protection Act Article 26 (3) (5) (7) and 78; and the Criminal Code Article 90. The Appellate Court upheld the First Court’s 12 year sentences for each defendant, and joint compensation of 1,256,240 THB for Min-the victim.
HRDF, its Mae Sot Labor Law Clinic, and the Confederation of Trade Unions of Myanmar (CTUM) assisted Min’s uncle, a Burmese migrant worker, in reporting the case to the Mae Sot Police Station. His uncle told an inquiry official that Min, his 14-year-old nephew, was lured by Burmese brokers to work in Nonthaburi Province with a married couple in 2014. The couple routinely beat him and over ten other child victims, and forced them to peddle roses to tourists on Khaosan Road. Min escaped the abuse and fled to meet his uncle in Mae Sot. After receiving the information, the local police arrested two defendants, but the husband managed to escape. The First Court of Mae Sot convicted the defendants under the 2018 Anti-trafficking Act and the Criminal Code. The defendants were sentenced to the aforementioned jail terms and compensation to the victim. (More information at http://hrdfoundation.org/?p=2078&lang=en)
The Court heard the witnesses and evidence and concluded:Min (pseudonym), the Burmese victim, was nine years old when he arrived to Thailand with his mother, who was looking for a job due to her impoverishment. Min’s mother entrusted him to Mr. Yuzuf’s (last name unknown) care in Mae Sot District. Some time later, a minivan driver picked him up with two other boys. He was sent to work with the defendants in Nonthaburi Province along with ten other children who were residing in the same house. Mrs. Zarabi, the first defendant, her husband, Mr. Yamin or Amin, and Mr. Charlie, the second defendant, forced Min and the other children to peddle roses from 6 P.M. to 3 A.M. every day. The children were coerced to sell at least 100 roses at 20 THB each per day. Mr. Charlie drove the children to Sanam Luang and kept watch over them. If any child failed to sell all of the roses, they would be beaten and forced to get up at 7 A.M. the next day, while those who could sell all of them were permitted to sleep until 8 A.M. In the morning, each child would wrap 100 roses in plastic sheets. They had one meal a day at 3 P.M. Min had attempted to escape, but was recaptured by Mrs. Zarabi and Amin who beat him. In December 2017, Mr. Charlie dropped him off to sell roses at Khaosan Road, then left to drop the other two kids at Rama 5 Bridge. Min managed to escape and sought help with a 7-11 cashier and the police. The police sent him to Mo Chit Bus Terminal so that he could find transportation to Mae Sot. Once there, Min met his uncle, who contacted CTUM and the Mae Sot Labor Law Clinic. His information led to the arrest of the traffickers.
The trafficking gang exploited children by using their socio-economic vulnerabilities, inequality, and their parents’ lack of awareness concerning trafficking. Most importantly, weak anti-trafficking and child protection laws in Thailand, along with those of neighboring countries, fail to protect vulnerable, migrant children in Thailand from trafficking, as well as labor and sexual exploitation. Child victims of trafficking should have opportunities to pursue education, and enjoy childhood with loving families so that they can grow into strong adult citizens rather than being exploited at the hands of brokers and traffickers. Our society must not allow these tragic incidents of trafficking to happen. Thus, we must be vigilant in monitoring incidents of trafficking and properly enforce the Anti-trafficking law.
For more information, please contact
E-mail: info@hrdfoundation.org
เผยแพร่วันที่ 5สิงหาคม 2562
ใบแจ้งข่าว
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
จำคุก 12 ปี แก๊งค้ามนุษย์บังคับเด็กขายดอกไม้ถนนข้าวสารพร้อมชดใช้เงิน 1,256,240 บาท
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ คม.1/2562 และคดีหมายเลขแดงที่ 1691/2562 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 นาฬิกา คดีดังกล่าวพนักงานอัยการจังหวัดตากเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นางซาระบี อับดุลเลาะ จำเลยที่ 1 และนายชาลี ไม่มีนามสกุล จำเลยที่ 2 ข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง ปี พ.ศ. 2560 จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังหลบหนีอยู่ สมคบกันรับเด็กชายมิน (นามสมมุติ) สัญชาติพม่าไว้จากนายหน้าแล้วหน่วงเหนี่ยวกักขัง ทุบตีทำร้าย ใช้กำลังขู่เข็นบังคับให้เด็กชายมินขายดอกกุหลาบให้แก่นักท่องเที่ยวบริเวณถนนข้าวสาร ระหว่างเวลาหกโมงเย็นถึงตีสามทุกวัน อันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการบังคับใช้แรงงานเด็ก มีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 6 (1) (2), 10 วรรคหนึ่ง, 52 วรรคสามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (3) (5) (7),78 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลจังหวัดตากให้จำคุกจำเลยคนละ 12 ปี และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ เด็กชายมิน ผู้เสียหายเป็นเงิน 1,256,240 บาท
คดีนี้สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561 คลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด ของมูลนิธิเพื่อมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ร่วมกับ สมาพันธ์แรงงานแห่งเมียนมา (CTUM) นำแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าซึ่งเป็นลุงของเด็กชายมิน เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรแม่สอดว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2556 – 2560 เด็กชายมิน หลานชายอายุ 14 ปี ถูกกลุ่มนายหน้าจากประเทศพม่า หลอกให้มาทำงานที่ประเทศไทย โดย ด.ช.มิน ถูกส่งตัวไปทำงานกับนายจ้างที่จังหวัดนนทบุรีในปี พ.ศ. 2557 และถูกนายจ้างสามี-ภรรยา กับพวกบังคับข่มขู่ทุบตีให้ทำงานร่วมกับเด็กเหยื่อค้ามนุษย์อีก 10 กว่าคน เร่ขายดอกไม้ในเวลากลางคืนแก่นักท่องเที่ยว บริเวณถนนข้าวสาร ต่อมา ด.ช.มิน ทนการถูกทารุณกรรมไม่ไหว จึงได้หนีกลับมาหาลุงที่อำเภอแม่สอด หลังจากได้รับการร้องทุกข์แจ้งความ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประสานงานกันเข้าจับกุมจำเลยทั้งสองได้ ส่วนสามีของจำเลยที่ 1 ได้หลบหนีไป ต่อมาศาลจังหวัดแม่สอด ได้มีพิพากษาว่าจำเลยทั้งสอง มีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2561 ประกอบกับประมวลกฎหมายอาญา พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสอง และให้ร่วมกันชดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายดังกล่าวข้างต้น (รายละเอียดเพิ่มเติม http://hrdfoundation.org/?p=2078&lang=en)
โดยศาลเชื่อตามพยานหลักฐานและคำเบิกความของพยานสรุปว่าเด็กชายมิน (นามสมมุติ) ผู้เสียหาย ขณะนั้นอายุ 9 ปีได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยกับมารดาเพื่อหางานทำเนื่องจากมีฐานะยากจน มารดาได้นำเด็กชายมินไปฝากไว้ที่บ้านนายยูซุป ไม่มีนามสกุล ที่อำเภอแม่สอด หลังจากนั้นมีคนขับรถยนต์ตู้มารับพร้อมเด็กอีก 2 คน ไปส่งให้จำเลยที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งนอกจากเด็กชายมินแล้ว ยังมีเด็กอื่นอีกประมาณ 10 คนอยู่ที่บ้านดังกล่าว นางซาระบี จำเลยที่ 1 กับนายอามีนหรือยามีนสามีและนายชาลี จำเลยที่ 2 กับพวกบังคับให้ เด็กชายมินและเด็กคนอื่นขายดอกกุหลาบระหว่างเวลา 6 โมงเย็นถึงตี 3 ทุกวัน โดยคนหนึ่งจะต้องขายให้ได้วันละ 100 ดอก ราคาดอกละ 20 บาท โดยมีนายชาลีขับรถพาไปส่งบริเวณสนามหลวงและถนนข้าวสารและคอยควบคุมมิให้หลบหนี หากขายดอกไม้ไม่หมดจะถูกทำร้าย และจะต้องตื่นนอน 7 โมงเช้า ส่วนเด็กที่ขายหมดจะได้ตื่นนอน 8 โมงเช้า หลังตื่นนอนจะต้องนำดอกกุหลาบมาห่อพลาสติกเตรียมไว้ขายตอนเย็นคนละ 100 ดอก เด็กๆ จะได้รับอาหารเพียงวันละ 1 มื้อ ในเวลาบ่าย 3 โมง เด็กชายมินเคยหลบหนี 1 ครั้ง แต่ถูกจับได้จึงถูกนางซาระบีทำร้าย และถูกนายอามีนชกต่อยด้วยสนับมือจนซี่โครงหัก ต่อมาในเดือนธันวาคม 2560 หลังจากนายชาลีขับรถจักรยานยนต์ไปส่งให้ขายดอกกุหลาบที่ถนนข้าวสาร แล้วขับรถไปส่งเด็กอีกสองคนที่สะพานพระราม 5 เด็กชายมินจึงหนีไปขอความช่วยเหลือจากพนักงานร้านเซเว่นอีเลฟเว่นและตำรวจเพื่อกลับแม่สอด เจ้าหน้าที่จึงให้ไปที่สถานีขนส่งหมอชิต จนได้พบกับลุงที่อำเภอแม่สอดและขอความช่วยเหลือจากCTUM และคลีนิคกฎหมายแรงงานแม่สอดของ มสพ. จนนำไปสู่การทลายแก๊งบังคับเด็กขายดอกไม้ดังกล่าว
คดีนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของแก็งค้ามนุษย์ที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการบังคับใช้แรงงานเด็กที่เด็กๆ ต้องตกเป็นเหยื่อเนื่องจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ความไม่รู้ไม่เข้าใจของพ่อแม่ ตลอดจนความอ่อนแอของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และการคุ้มครองเด็ก เชื่อว่ายังมีเด็กๆ อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจากครอบครัวที่ยากจนในประเทศเพื่อบ้านของไทยที่ต้องตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ทั้งในด้านแรงงานและด้านการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ เด็กๆ เหล่านั้นควรที่จะได้มีโอกาสในการศึกษาและใช้ชีวิตในวัยเด็กอย่างอบอุ่นกับครอบครัว เพื่อเติบโตเป็นพลเมืองของโลกที่แข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แต่พวกเขาต้องตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ โดยการสมคบกันระหว่างขบวนการนายหน้าและนายจ้าง พฤติกรรมของแก๊งค้ามนุษย์ดังตัวอย่างในคดีนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ สังคมต้องช่วยกันสอดส่องเป็นหูเป็นตาและดูแลให้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และการคุ้มครองเด็กมีผลบังคับใช้อย่างจริงจัง
ข้อมูลเพิ่มเติม
กาญจนาอัครชาติผู้จัดการคดี
โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและพัฒนา
เบอร์โทรศัพท์ 090-916-0011E-mail:kanjana.ak@gmail.com
จิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความประจำสำนักงานคลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด
เบอร์โทรศัพท์ 089-273-4711
—
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
109 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก
เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
โทรศัพท์ 66 2 2776882 แฟกซ์ 66 2 2776887
Email: hrdf2016@gmail.com or info@hrdfoundation.org